โรคอ้วนในเด็ก
ศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์จุล  ทิสยากร

 เมื่อ 40 ปีก่อน แพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยเด็กของประเทศไทยพบกับปัญหาโรคขาดอาหาร     แต่ที่กำลังกลายเป็นปัญหาในปัจจุบันของเด็กไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร คือเด็กรับประทานอาหารมากเกินไปจนน้ำหนักตัวมากจนอยู่ในเกณฑ์ที่เรียกว่าเป็นโรคอ้วน ซึ่งในปัจจุบันพบได้ประมาณร้อยละ 10 ของเด็กในกรุงเทพมหานคร  ส่วนหนึ่งของปัญหานี้เกิดจากการขาดการดูแลที่ดีจากบิดามารดาของเด็ก หรือเกิดจากความไม่รู้ของบิดามารดาของเด็กซึ่งเข้าใจผิดว่าเด็กอ้วนคือเด็กมีสุขภาพดี ในอนาคตเด็กอ้วนเหล่านี้จะมีปัญหาสุขภาพอันได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ  โรคกลุ่มอาการที่ดื้อต่อสารอินซูลิน นอนกรน หยุดหายใจขณะนอนหลับ นอกจากโรคทางกายแล้ว โรคอ้วนยังนำไปสู่โรคทางจิตใจด้วย เช่น ไม่ค่อยคบเพื่อน เกิดโรคซึมเศร้า และในรายที่รุนแรงมากอาจถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย
           

  เด็กและเยาวชนเป็นประชากรกลุ่มพิเศษ  เช่น ถ้าทำความผิดจะได้รับโทษน้อย แม้แต่เรื่องน้ำหนักตัวถ้ามากเกินไปในผู้ใหญ่มักจะเรียกว่าโรคอ้วน   แต่ในเด็กมีผู้เรียกเด็กที่อ้วนว่าน้ำหนักเกิน อย่างไรก็ตาม ตามคำจำกัดความถ้าน้ำหนักตัวเกินกว่าค่าปกติมากจะถือว่าอ้วน ค่าน้ำหนักปกติในเด็กทั้งหญิงชายจะมีอยู่ทุกอายุ และมีการทำเป็นเส้นกราฟเพื่อให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบกับค่าปกติในแต่ละอายุ      และใช้ติดตามการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของน้ำหนักตัวเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น  สิ่งที่ใช้เป็นตัววัดความเหมาะสมของ   น้ำหนักตัวของแต่ละคนคือ Body Mass Index (BMI) ซึ่งคำนวณได้จากสูตรซึ่งใช้ได้ทั้งเพศหญิงและชาย

            BMI      = น้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) / ความสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง


การแปลผล BMI ที่คำนวณได้
            ค่า BMI (กก/ม2) การแปลผล
            20-25                            ดีที่สุด
            25-30                            น้ำหนักเกิน
            30-34                            อ้วน
            35-44                            อ้วนจนต้องระวังสุขภาพ
            45-49                            อ้วนจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
            มากกว่า 50                     ซุปเปอร์อ้วน (อันตรายมาก)
(ค่าปกติของ BMI ในเด็กที่อายุมากกว่า 9 ปี
เด็กชาย             = อายุ (หน่วยเป็นปี) + 13
เด็กหญิง            = อายุ (หน่วยเป็นปี) + 14)
            เมื่อ 40 ปีก่อน แพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยเด็กของประเทศไทยพบกับปัญหาโรคขาดอาหาร     ในเด็กซึ่งอาจเป็นชนิดที่เด็กขาดอาหารจนผอมแห้งเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกอย่างที่ยังพบได้มากในหลายประเทศของทวีปอัฟริกา  เด็กบางคนจะขาดอาหารโปรตีนมากจนเกิดอาการบวม  สำหรับประเทศไทยโรคขาดอาหารในเด็กได้ค่อยๆหมดไป แต่ที่กำลังกลายเป็นปัญหาในเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร คือเด็กรับประทานอาหารมากเกินไปจนน้ำหนักตัวมากจนอยู่ในเกณฑ์ที่เรียกว่าเป็นโรคอ้วน ซึ่งในปัจจุบันพบได้ประมาณร้อยละ 10 ของเด็กในกรุงเทพมหานคร  ส่วนหนึ่งของปัญหานี้เกิดจากการขาดการดูแลที่ดีจากบิดามารดาของเด็ก หรือเกิดจากความไม่รู้ของบิดามารดาของเด็กซึ่งเข้าใจผิดว่าเด็กอ้วนคือเด็กมีสุขภาพดี    ในการประกวดสุขภาพเด็กประจำปีของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มักจะมีมารดาที่นำเอาเด็กที่อ้วนมากมาร่วมประกวดด้วยจากความเข้าใจผิดที่คิดว่าเด็กอ้วนเป็นเด็กที่มีสุขภาพดี แต่ในความเป็นจริงนอกจากเด็กอ้วนมักจะมีสุขภาพไม่ดี เช่น อ้วนมากจนหายใจไม่พอแล้ว  ในอนาคตเด็กอ้วนเหล่านี้จะมีปัญหาสุขภาพอันได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ  โรคกลุ่มอาการที่ดื้อต่อสารอินซูลิน นอนกรน หยุดหายใจขณะนอนหลับ นอกจากโรคทางกายแล้ว โรคอ้วนยังนำไปสู่โรคทางจิตใจด้วย เช่น ไม่ค่อยคบเพื่อน เกิดโรคซึมเศร้า และในรายที่รุนแรงมากอาจถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย


            การป้องกันโรคอ้วนต้องเป็นการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและเข้มงวดตั้งแต่แรกคลอด  โดยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งทำให้เด็กมีโอกาสอ้วนน้อยกว่าเด็กที่เลี้ยงด้วยนมวัว ในเด็กที่โตขึ้นครอบครัวมีหน้าที่จัดการและให้ความรู้เรื่องอาหารกับการออกกำลังกาย  การที่น้ำหนักของร่างกายเพิ่มขึ้นก็เนื่องจากพลังงานที่รับประทานเข้าไปมากกว่าพลังงานที่ใช้ไปของร่างกาย  ทำให้พลังงานที่เหลือใช้ถูกจัดเก็บไว้ในรูปไขมัน  อาหารที่จะทำให้มีพลังงานเหลือใช้ได้มากได้แก่ อาหารที่มีไขมันมากหรือหวานจัด  และส่วนหนึ่งที่ทำให้ในปัจจุบันเด็กมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนกันมากก็เนื่องจากการรับประทานอย่างอวิชาทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ  ทำให้ร่างกายมีรายรับทางด้านพลังงานเพิ่มขึ้นมาก  ส่วนรายจ่ายทางพลังงานของร่างกายในเด็กก็มักจะน้อยเนื่องจากเด็กมักจะอยู่เฉยๆเช่น ดูทีวี เล่นเกมกด  ขณะที่ดูทีวีก็มักจะรับประทานขนมขบเคี้ยวร่วมกับการดื่มน้ำหวาน  เมื่อบวกกับอาหารมื้อหลักที่มักจะซื้อจากร้านอาหารพวก “จานด่วน” เช่น พิซซ่า เบอร์เกอร์  ซึ่งมีไขมันเป็นส่วนประกอบมาก  พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนส่งเสริมให้น้ำหนักตัวเพิ่มทั้งนั้น      สิ่งที่พอจะทำได้เพื่อลดโอกาสการเพิ่มน้ำหนักตัวก็คือเลือกอาหารที่จำหน่ายให้แก่นักเรียนในโรงเรียน   ส่งเสริมการเล่นที่เป็นการออกกำลังกายประมาณวันละชั่วโมง จำกัดการดูทีวี  เล่นเกมกดไม่ไห้
มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน   ที่กล่าวมาข้างต้นถ้าดูเผินๆจะเห็นได้ว่าไม่มีอะไรมาก แต่ในทางปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของการควบคุมน้ำหนักนั้นเป็นสิ่งที่ยากมาก


หลักเกณฑ์ที่สำคัญเพื่อการควบคุมน้ำหนักอย่างได้ผล
            1. ตั้งเป้าและจัดรายการเฉพาะสำหรับเด็กแต่ละคนโดยพิจารณาจากอายุ ความรุนแรงของ
                น้ำหนักที่มากเกินไป และโรคที่มีร่วมด้วยแล้ว
            2.  ครอบครัวต้องร่วมด้วยในภาคปฏิบัติ
            3.  มีการประเมินผลบ่อยๆ
            4.  ต้องคำนึงถึงความประพฤติ สังคม และจิตใจของเด็กด้วย
            5.  ให้คำแนะนำในการเปลี่ยนแปลงอาหารและการออกกำลังกายที่เด็กและครอบครัว
                 นำไปปฏิบัติได้จริงๆ


  จะเห็นได้ว่า ความสำเร็จในการควบคุมน้ำหนักขึ้นกับความร่วมมือของสมาชิกทุกคนในครอบครัวที่ต้องยอมรับการจัดกิจกรรมร่วมกัน เช่น การเล่นกีฬา และการเปลี่ยนแปลงชนิดอาหารและวิธีการเตรียม  เด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปี ไม่ควรใช้ยาเพื่อการควบคุมน้ำหนัก  ส่วนวิธีการผ่าตัดต่างๆเพื่อลดน้ำหนักจะพิจารณาใช้เฉพาะกับเด็กที่เจริญเติบโตเข้าสู่วัยหนุ่มสาวแล้วเท่านั้น และจะต้องเป็นโรคอ้วนที่อ้วนจนมีปัญหาต่อสุขภาพแล้วเพราะมีโรคแทรกซ้อนหรือน้ำหนักมากถึงขั้นซุปเปอร์อ้วน