บทความทางวิชาการ โดยศาสตราจารย์นายแพทย์จุล  ทิสยากร

จากจดหมายข่าว ฉบับที่ 3 กุมภาพันธ์ กรกฎาคม 2547 

 

การป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดตั้งแต่วัยเด็ก

                โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเป็นสาเหตุหมายเลขที่หนึ่งของการเสียชีวิตในประเทศที่พัฒนาแล้ว และจำนวนประชากรในประเทศไทยที่เสียชีวิตจากสาเหตุนี้ก็กำลังเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันนี้นอกจากจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันจะเพิ่มมากขึ้นแล้ว  อายุของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ก็น้อยลงด้วย  เมื่อเทียบกับสมัยก่อน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้น่าจะเนื่องจากการเลียนแบบพฤติกรรมของประชากรทางซีกโลกตะวันตก  ทำให้พฤติกรรมการดำรงชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก   จนทำให้ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเพิ่มขึ้นอย่างมาก และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงนี้อาจเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งถ้ามีพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ไม่เหมาะสมแล้ว โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันก็อาจจะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้น ตั้งแต่อายุยังน้อย  และการเปลี่ยนแปลงในหลอดเลือดจะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นจนทำให้มีอาการเมื่อเป็นผู้ใหญ่  นอกจากกรรมพันธุ์แล้ว ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมีหลายอย่าง เช่น ความอ้วน ความดันโลหิตสูง ระดับไขมัน (คอเลสเตอรอล) สูงในเลือด เบาหวาน การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย

 

                เนื่องจากโรคหลอดเลือดแดงอุดตันจากตะกอนไขมัน  ในความเป็นจริงเริ่มก่อตัวตั้งแต่ผู้ป่วยอยู่ใน วันเด็ก การป้องกันการเกิดโรคนี้จึงควรเริ่มต้นตั้งแต่ในวัยเด็ก โดย

                1. การส่งเสริมสุขภาพทั่วไปในเด็ก (ตารางที่ 1)

                2. หาเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (ตารางที่ 2)

                3. ลดปัจจัยเสี่ยงในเด็กที่ทราบปัจจัยเสี่ยงแล้ว (ตารางที่ 3)

 

ตารางที่ 1 การส่งเสริมสุขภาพทั่วไปในเด็ก

จุดมุ่งหมายเพื่อสุขภาพคำแนะนำ
1. อาหาร 

Yการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพ

Yให้มีน้ำหนักที่เหมาะสม

Yให้ระดับไขมันในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ

Yให้ระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ

Yแพทย์แนะนำชนิดและปริมารอาหารที่ควรรับประทาน เพื่อให้ได้มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม

Yถ้าเด็กอายุยังน้อยกว่า 2 ปี ไม่แนะนำการจำกัดไขมันในอาหาร ถ้าเด็กอายุมากกว่า 2 ปีแล้วให้รับประทานไขมันอิ่มตัวได้น้อยกว่า 10% ของแคลอรี่ต่อวัน และคอเลสเตอรอลน้อยกว่า 300 มก. ต่อวัน

2. การสูบบุหรี่ 

Yไม่ริเริ่มการสูบบุหรี

Yไม่เป็นผู้สูบบุหรี่ มือสอง

Yผู้ที่สูบอยู่แล้วให้พยายามเลิกให้ได้ 

Yแพทย์หมั่นถามเรื่องการสูบบุหรี่ตั้งแต่เด็กอายุ 10 ปี

Yย้ำถึงโทษของบุหรี่และย้ำถึงการอย่าริเริ่มการสูบ 

Yแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเป็นผู้สูบบุหรี่ มือสอง ในทุก ๆ สถานที่

3. การออกกำลังกาย 
Y พยายามลดเวลาที่ใช้ไปกับกิจกรรมที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว เช่นดูโทรทัศน์ เล่นคอมพิวเตอร์ เล่นวิดีโอเกม หรือคุยทางโทรศัพท์  เป็นเวลานาน 

Yแนะนำให้เด็กออกกำลังทุกวัน (ประมาณวันละ 60 นาที)

Yจำกัดเวลาที่ใช้ไปกับการกระทำที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว เช่น จำกัดการดูโทรทัศน์ไม่ให้เกิน 2 ชั่วโมง  ต่อวัน

 

 

ตารางที่ 2 หาเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

การประเมินข้อแนะนำ
2. การประเมินทั่วไป 
 

Yประวัติครอบครัวเกี่ยวกับความอ้วน ความดันโลหิตสูง  ระดับไขมันสูงในเลือด เบาหวาน สูบบุหรี่ โรคหัวใจก่อนอายุ 55 ปี ในเพศชาย 55 ปี ในเพศชาย และก่อนอายุ 65 ปีในเพศหญิง

Yตรวจส่วนสูงและน้ำหนักอย่างสม่ำเสมอ

Yวัดความดันโลหิตทุกครั้งที่ตรวจเด็กที่อายุมากกว่า 3 ปี

Yประเมินเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย

Yสอบถามเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในเด็กที่อายุมากกว่า 10 ปี

3. การประเมินจำเพาะ 

Yระดับไขมันในเลือดผิดปกติหรือไม่

Yความดันโลหิตสูงผิดปกติหรือไม่

Yส่วนสูงและน้ำหนักผิดปกติหรือไม่ 

Yเริ่มตรวจหาความผิดปกติในเด็กที่อายุมากกว่า 2 ปี หรือในครอบครัวมีคนเป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุน้อยหรือระดับไขมันในเลือดผิดปกติ

Yจำกัดเวลาที่ใช้ไปกับการกระทำที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวเช่น จำกัดการดูโทรทัศน์ไม่ให้เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน

ตารางที่ 3 ลดปัจจัยเสี่ยงในเด็กที่ทราบปัจจัยเสี่ยงแล้ว

การลดปัจจัยเสี่ยงข้อแนะนำ
ระดับคอเลสเตอรอล 

เป้าหมาย

YLDL-C (Low-Density Lipoprotein Cholesterol) น้อยกว่า 160 มก./ดล

YLDL-C น้อยกว่า 100 มก./ดล ถ้าเป็นเบาหวาน 

Yรับประทานคอเลสเตอรอล น้อยกว่าวันละ 200 มก.

Yเพิ่มอาหารที่มีใย (fiber) ซึ่งจะช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้บ้าง

Yถ้าปฏิบัติดังข้างบนแล้วระดับ LDL-C ยังสูงอยู่ อาจจะต้องหาว่าเด็กมีโรคที่อาจจะเป็นสาเหตุLDL-C สูงหรือไม่

Yถ้าจำเป็นจริง ๆ อาจต้องใช้ยาลดไขมันช่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง 5hk LDL-C มากกว่า 190 มก./.ดล. (ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นร่วมด้วยอาจใช้ยา ถ้า LDL-C มากกว่า 160 มก./.ดล.)

ระดับไขมันตัวอื่น ๆ 

เป้าหมาย

YTG (Triglyceride) น้อยกว่า 150  มก./ดล.

YHDL-C (High-Density Lipoprotein Cholesterol) มากกว่า 35 มก./ดล. 

Yลดน้ำหนักตัว

Yลดการรับประทานน้ำตาล

Yหาโรคที่อาจทำให้ระดับ TG สูง ถ้าระดับ TG ไม่ลดลง

Yในเด็กไม่แนะนำการใช้ยาลดระดับ TG ยกเว้น ถ้า TG มากกว่า 400 มก./ดล.

การรักษาความดันโลหิตสูง 

เป้าหมาย

Yให้ค่าความดันอยู่ในเกณฑ์ปกติ  

 Yควบคุมน้ำหนักตัว

Yลดปริมาณเกลือ (น้ำปลา) ในอาหาร

Yหาโรคที่อาจทำให้ความดันโลหิตสูง

Yใช้ยาลดความดันโลหิต ถ้าการเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ได้ผล

การควบคุมน้ำหนัก 

เป้าหมาย

Yให้ BMI (Body Mass Index) อยู่ในเกณฑ์ปกติ  

Yควบคุมอาหารและออกกำลังกาย

Yควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกทั้งครอบครัว 
รักษาเบาหวาน 

เป้าหมาย

Yให้ระดับน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงค่าปกติ 

Yควบคุมน้ำหนักตัวโดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย

Yรักษาความดันโลหิตสูง และระดับไขมันผิดปกติ ถ้ามีร่วมด้วย

หยุดสูบบุหรี่ 

เป้าหมาย

Yสมาชิกทุกคนในครอบครัวเลิกสูบบุหรี่ 
 Yให้ผู้สูบบุหรี่ทุกคนเลิกบุหรี่ ถ้าจำเป็นให้ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง